Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wp-table-builder domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wp-table-builder domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-includes/functions.php on line 6114

Deprecated: parse_str(): Passing null to parameter #1 ($string) of type string is deprecated in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-content/plugins/chaty-pro/includes/class-frontend.php on line 2192

Deprecated: parse_str(): Passing null to parameter #1 ($string) of type string is deprecated in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-content/plugins/chaty-pro/includes/class-frontend.php on line 2192

Deprecated: parse_str(): Passing null to parameter #1 ($string) of type string is deprecated in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-content/plugins/chaty-pro/includes/class-frontend.php on line 2192
เปิด 5 เทคนิคการสัมภาษณ์งานกับชาวต่างชาติ รับประกันว่ามีแต่ได้กับได้

ตอบดีจนมงจะลงหัว! เปิด 5 เทคนิคการสัมภาษณ์งานกับชาวต่างชาติ รับประกันว่ามีแต่ได้กับได้

Could you please tell me about yourself? คำถามสุดคลาสสิกแบบไปสัมภาษณ์งานกับชาวต่างชาติที่ไหนก็ต้องเจอ แต่เชื่อไหมว่าคนไทยส่วนใหญ่ตกม้าตายกับคำถามง่ายๆ แบบนี้ เพราะไม่รู้ว่าจะตอบยังไงให้ถูกใจเขาดี จะบอกไปว่า

  • Hi, my name is Kanpong – อันนี้ใน CV ที่เขาถือมีอยู่แล้ว ไม่ต้องย้ำอีก
  • I live in Bangkok with my family – นี่ก็ไม่ได้ผิด แต่ไม่ควรพูดเรื่องส่วนตัวในครั้งแรกที่เจอกัน
  • I love eating – ก็น่ารักดี แต่ไม่เกี่ยวกับงาน อย่าพูดถึงสิ่งที่ไม่มีจุดเด่น

จริงๆ แล้วการเตรียมตัวไปสัมภาษณ์งานเป็นภาษาอังกฤษ หรือสัมภาษณ์งานกับชาวต่างชาตินั้น นอกจากเรื่องฝึกฝนในการตอบคำถามแล้ว การเตรียมตัวให้พร้อมก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เพราะธรรมชาติของการสัมภาษณ์นั้นจะแตกต่างจากการสัมภาษณ์เป็นภาษาไทย ต้องอาศัยประสบการณ์ และเทคนิคเพื่อสร้างความประทับใจในแต่ละครั้งที่มีโอกาสได้สัมภาษณ์

นั่นแปลว่าการเตรียมตัวของเราต้องเป๊ะเพื่อสร้างความปัง ให้เขารู้สึกว่าถ้าไม่เลือกเราแล้วจะต้องเสียใจ!

Company Profile: ศึกษาข้อมูลที่ทำงานใหม่อย่างละเอียด

จะไปอยู่กับเขาก็ต้องทำความรู้จักเขาก่อน นอกจากจะเกี่ยวกับมารยาทแล้ว ยังวัดได้เลยว่าคุณมีความตั้งใจแน่วแน่อยากไปทำงานในบริษัทนั้นมาแค่ไหน คำถามอาจมาแบบตรงๆ หรืออ้อมๆ เพื่อวัดว่าคุณทำการบ้านมาดีแล้วหรือยัง

ตัวอย่างคำถาม

Q: Do you know [CEO name] right? What do you think about him (or her)? รู้จักคุณ [ชื่อซีอีโอ] ใช่ไหม คิดว่าทิศทางในการทำงานของเขาเป็นยังไงบ้าง?

A: Personally, I think that he (or she) is a strong leader with an extraordinary vision… โดยส่วนตัว ผมคิดว่าเขา (หรือเธอ) เป็นผู้บริหารสายสตรองที่มีวิสัยทัศน์โดดเด่นไม่เหมือนใคร

Q: What makes you the best fit for this position? อะไรทำให้คุณคิดว่าคุณเหมาะกับตำแหน่งนี้?

A: I believe that our company provides many services that I have had experience with. ผมเชื่อว่าองค์กรของคุณให้บริการในหลากหลายรูปแบบซึ่งตรงกับประสบการณ์ที่ผมมี

Keyword

  • This position
  • his industry
  • Company
  • hire
  • Salary

หากคุณทำคะแนนตรงส่วนนี้ได้ดี ก็น่าจะสร้างความประทับใจให้กับบริษัทใหม่เป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่แล้วคำถามประเภทนี้ไม่มีถูกหรือผิด เพราะเขาอยากวัดว่าคุณมีใจอยากมาทำงานด้วยกันมากแค่ไหน

Cleverness: ถามปุ๊บ ตอบปั๊บ ให้เวลาหายใจแค่ 1 วินาที

‘ความมั่นใจ’ เป็นลักษณะนิสัยของชาติตะวันตกผู้ใช้ภาษาอังกฤษ พวกเขาย่อมคาดหวังว่าคนที่จะมาทำงานด้วยกันต้องมีความมั่นใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะเกี่ยวข้องถึงภาวะการตัดสินใจในองค์กร อาการประหม่าระหว่างสัมภาษณ์จะเป็นตัวหักคะแนนที่ดีเลยล่ะ อันไหนที่ถามแล้วยังคิดไม่ออก หรือยังตอบไม่ได้ ก็ต้องใช้เทคนิคในการสื่อสารเพื่อลดความตื่นเต้น และไม่ให้เขาจับโป๊ะของเราได้

ตัวอย่างคำถาม

Q: What was the last book you’ve read? หนังสือเล่มล่าสุดที่อ่านคืออะไร?

A: Well… the latest one that I’ve read is The Little Prince by Antoine de Saint-Exupéry เอ่อ… เล่มล่าสุดที่ฉันอ่านก็คือ เจ้าชายน้อย ของอ็องตวน เดอ แซงเต็ก ซูเปรี

Q: Where do you see yourself in 5 years? คุณมองเห็นว่าตัวเองเป็นอย่างไรในอีก 5 ปี?

A: I would say, in five years, I would love to be able to provide similar guidance, potentially taking on a leadership role. ผมเชื่อว่า ในอีก 5 ปี ผมจะอยู่ในตำแหน่งที่สามารถแนะนำ และผลักดันให้คนอื่นมีความเป็นผู้นำได้

Keyword

  • Personally
  • To me
  • Well
  • I would say
  • I feel that

การคิดคำตอบโดยปล่อยให้เกิดความเงียบในห้องสัมภาษณ์ กับการพูดคำอุทานบางอย่างออกมาก่อนนั้น สร้างความรู้สึกที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คำพูดอย่าง Well หรือ So แม้จะดูไม่เป็นทางการสักเท่าไหร่ แต่ก็สร้างบรรยากาศที่ดีให้เกิดขึ้นได้ คลังคำศัพท์เหล่านี้ไม่ควรถูกมองข้าม ในบางครั้งทำประโยคดูสมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีความเป็นภาษาพูด มากกว่าจำเป็นประโยคมาจากหนังสือ

Confidence: ความมั่นใจต้องมาก่อน

ระบบการศึกษาไทยมักไม่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความมั่นใจ นี่คือจุดอ่อนเวลาคนไทยไปสัมภาษณ์งานกับชาวต่างชาติ คือไม่สามารถยืนยันความสามารถของตัวเอง หรือต่อรองผลประโยชน์ซึ่งควรทำให้จบในวันที่สัมภาษณ์ ความมั่นใจควรมีตั้งแต่ก้าวเท้าเข้าไปในบริษัท พูดจาฉะฉาน และสบตากับผู้พูดตลอดเวลา

ตัวอย่างคำถาม

Q: What is your greatest strength? จุดแข็งของคุณคืออะไร?

A: I am a skilled programmer with over 5 years of experience. ผมเป็นโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถ และประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 5 ปี

Q: What are your salary expectations? คุณคาดหวังเงินเดือนเท่าไหร่?

A: With my experience, I’d like to receive something in the range of 40k to 42k baht. ด้วยประสบการณ์ที่มี ผมอยากได้เงินเดือนประมาณ 40,000 – 4,2000 บาท

Keyword

  • Strength
  • Weakness
  • Salary
  • New Job
  • Position

เมื่อไหร่ก็ตามที่เขาถามเกี่ยวกับงานที่ทำอยู่ หรือทักษะของเรา ให้ไปตอบไปด้วยความมั่นใจไม่ต้องเกริ่นยาว และไม่ต้องกลัวที่จะพูดถึงผลงานชิ้นโบว์แดงที่ผ่านมาว่าเคยสร้างประโยชน์อะไรให้กับองค์กรเก่าบ้าง หรือหากมีคำถามเกี่ยวกับสวัสดิการ เช่น โบนัส วันหยุด หรือค่าทำงานล่วงเวลา ให้ถามกันตรงนี้เลย ดีกว่าไปแอบถามกันทีหลัง

Come Positive Energy: เปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นเรื่องดี

ไม่ว่าคุณจะมีประสบการณ์แย่ๆ จากบริษัทเก่าอย่างไร แต่คนฟังก็อยากเห็นมุมมองอย่าง ‘มืออาชีพ’ ที่มากกว่าการ ‘ไม่ชอบ’ หรือคำตอบแบบ ‘เงินเดือนน้อยเกินไป’ เพราะการรับพนักงานที่ทัศนคติดีย่อมส่งผลบวกต่อองค์กรทั้งในเรื่องของความคุ้มว่าที่มองเห็น (มูลค่าที่เพิ่มขึ้นต่อหัว) และที่มองไม่เห็น (บรรยากาศในการทำงานที่ส่งผลให้ทุกคนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ)

ตัวอย่างคำถาม

Q: Why do you want to leave your current company? ทำไมคุณถึงอยากจะออกจากงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน?

A: I’ve enjoyed working with great people at my current job, but this opportunity in this company fits very well with the direction I want to take in my career. ผมรู้สึกสนุกกับงานที่ทำอยู่มาก โดยเฉพาะกับเพื่อนร่วมงานที่ดี แต่โอกาสที่ผมกำลังจะได้รับนี้มันตรงกับสายงานในการเติบโตของผมมากๆ

Q: How would you deal with an angry or irate customer? มีวิธีรับมือลูกค้าที่ขี้โมโห หรืออารมณ์ร้อนยังไง?

A: Sometimes customers may be unhappy with their experience. I would inform them that I would be more than happy to assist them with resolving the problem. อาจจะมีบ้างที่ลูกค้าไม่พอใจในประสบการณ์ที่จะได้รับ แต่ผมก็บอกเขาตรงๆ ว่าเรายินดีที่จะช่วยทำให้ทุกอย่างดีขึ้น มีอะไรให้ช่วยบอกได้เลย

Keyword

  • If I were
  • Leave the job
  • Colleagues
  • Situation
  • How would you

ไม่ใช่คุณคนเดียวที่สามารถทำตำแหน่งนี้ได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่องค์กรจะรับเข้าทำงาน แท้ที่จริงแล้วการสัมภาษณ์งานเป็นเหมือนละครฉากหนึ่งที่หลอกล่อคุณมาเพื่อดูระบบความคิด ดูวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือตรรกะในการตอบ เพราะเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สอนกันได้ยาก หนึ่งปัญหามีหลายทางออก ต้องอาศัยประสบการณ์ และการมองโลกที่ดีเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายในหน่วยงาน

Choose and Sharp: เลือกข้างให้ชัด ตัดสินใจให้เด็ดขาด

ยิ่งตำแหน่งสูงขึ้นเท่าไหร่ การตัดสินใจที่เฉียบขาดและรวดเร็วนั้น ก็ถือเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ระดับผู้บริหารต้องมี เพราะการตัดสินใจที่ล่าช้าจะนำมาซึ่งการสูญเสียผลประโยชน์ขององค์กร และผูกพันกับคนอื่นๆ ภายใต้การบังคับบัญชาของตัวเอง และถึงแม้ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มก้าวแรกของโลกแห่งการทำงาน ก็ควรจะฝึกสกิลล์นี้ไว้ใช้ยามจำเป็น เมื่อถึงเวลาต้องเลือก และตัดสินใจ เซนส์ของเราจะให้เลือกสิ่งที่ถูกต้องที่สุดเอง

ตัวอย่างคำถาม

Q: If someone offers you a new job, will you accept it? ถ้ามีคนมาเสนองานใหม่ให้ คุณจะรับไหม

A: Honestly, I will consider the offer because receiving an opportunity is a gift from God, and that means my current works are outstanding and useful for the company! บอกตามตรงเลยก็คือคงพิจารณาข้อเสนอเอาไว้ครับ เพราะโอกาสก็เหมือนพรจากพระเจ้า แต่นั่นหมายถึงว่างานที่ผมทำอยู่นั้นโดดเด่นมาก ซึ่งยังไงก็ส่งผลดีต่อองค์กรครับ

Q: If you had to fire someone, how would you fire him/her? ถ้าคุณต้องไล่พนักงานออกจากงาน คุณมีวิธีไล่พนักงานคนนั้นออกอย่างไร?

A: After the second warning, I would consult with HR about the appropriate protocol. Then I would inform the employee of the things that they did well along with those that they did poorly. หลังจากเตือนครั้งที่สอง ผมจะปรึกษาฝ่ายบุคคลเกี่ยวกับการให้ออกตามขั้นตอน จากนั้นจะแจ้งพนักงานคนนั้นถึงเหตุผล โดยเฉพาะเนื้องานที่ไม่สมควรจะได้อยู่ต่อ

Keyword

  • If you
  • Will you
  • …or not
  • What do you think
  • How do you

การเลือกข้างไม่ได้แปลว่าคุณเห็นด้วยกับคำตอบนั้น 100% แต่แสดงออกว่าคุณเชื่อในตัวเลือกนั้นมากกว่าอีกอันหนึ่ง การไม่เลือกข้าง หรือทำแสดงความคิดเห็นแบบคลุมเครือจะทำให้งานไปต่อได้อย่างล่าช้า แน่นอนว่าการตัดสินใจมาพร้อมกับความรับผิดชอบ แต่ก็นั่นแหละ ไม่ว่าทำอะไร ก็ต้องรับผิดชอบเหมือนกัน