Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wp-table-builder domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wp-table-builder domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-includes/functions.php on line 6114

Deprecated: parse_str(): Passing null to parameter #1 ($string) of type string is deprecated in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-content/plugins/chaty-pro/includes/class-frontend.php on line 2192

Deprecated: parse_str(): Passing null to parameter #1 ($string) of type string is deprecated in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-content/plugins/chaty-pro/includes/class-frontend.php on line 2192

Deprecated: parse_str(): Passing null to parameter #1 ($string) of type string is deprecated in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-content/plugins/chaty-pro/includes/class-frontend.php on line 2192

Deprecated: parse_str(): Passing null to parameter #1 ($string) of type string is deprecated in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-content/plugins/chaty-pro/includes/class-frontend.php on line 2192
Ivy League ความป่วยทางจิต และความหมายของชีวิต การศึกษาแบบชนชั้นนำ

Ivy League, ความป่วยทางจิต และความหมายของชีวิต

ความป่วยทางจิต และความหมายของชีวิต ivy league

Ivy League
ความป่วยทางจิต และความหมายของชีวิต 

William Deresiewicz อาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษประจำ Yale University ผู้เขียนหนังสือ Excellent Sheep : The Miseducation of the American Elite and the Way to a Meaningful of Life (แกะที่ดีเลิศ : การศึกษาที่ผิดปกติของชนชั้นนำอเมริกัน และหนทางการแสวงหาความหมายของชีวิต) ให้สัมภาษณ์กับ Laurent Cassani Davis บนเว็บไซต์ the Atlantic เกี่ยวกับอิทธิพลของวัฒนธรรมการศึกษาแบบชนชั้นนำต่อ grandiosity และโรคซึมเศร้า

Grandiosity คือ ความรู้สึกว่าตนยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง ทัศนคติที่ว่าตนดีกว่าผู้อื่น ซึ่งทำให้มองผู้อื่นว่าต้อยต่ำหรือมีคุณค่าน้อยกว่า

Deresiewicz ใช้คำว่า “Excellent sheep” (แกะที่ดีเลิศ) อธิบายถึงนักศึกษา Ivy League ในปัจจุบัน เนื่องจากนักศึกษาเหล่านี้มักจะมีข้อกำหนดต่างๆ ที่ต้องใช้ในการเข้าศึกษาในวิทยาลัยชั้นนำอย่างครบถ้วน แต่นิยามของความดีเลิศนี้ค่อนข้างคับแคบเอาซะมากๆ “พวกเขาเป็นเด็กที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คุณกำหนด โดยที่ไม่ตั้งคำถามว่าทำไมถึงทำสิ่งนั้นๆ”

* อ้างอิงจากบทความ :
The Ivy League, Mental Illness, and the Meaning of Life – click
Credits : Lauren Cassani Davis @The Atlantic

Ivy-League-Mental-Illness-and-the-Meaning-of-Life
Photo Credit : Andrew Bret Wallis, Getty Images

แนวทางการใช้ชีวิตเช่นนี้มีอิทธิพลต่อความป่วยทางจิต (mental illness) ของนักเรียนและนักศึกษา

พวกเขาถูกทำให้เข้าใจว่าจะต้องเป็นและทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบอยู่เสมอ มันเกือบจะเหมือนกับการทดลองสัตว์ที่ทารุณ ทุกครั้งมีสัญญาณเตือน พวกเขาจะปฏิบัติตามเงื่อนไขเสมอไป นั่นก็คือการกดปุ่ม ตามที่ถูกกำหนดไว้ นักศึกษาใน Ivy League จึงเปรียบเสมือน “แกะ” เพราะพวกเขาไม่เคยที่จะได้รับโอกาสที่จะพัฒนาทักษะสำหรับการค้นหาหนทางของตัวเอง พวกเขาคุ้นชินกับการทำสิ่งที่ถูกกำหนดมาให้ทำอยู่เสมอ

… แต่ปัญหา คือ ชีวิตที่จะมีคนมากำหนดทิศทางให้นั้นจะสิ้นสุดลง ณ ช่วงหนึ่งในชีวิต นักศึกษาใน Ivy League จึงมักต้องเผชิญกับอุปสรรคภายในจิตใจ สืบเนื่องจากทั้ง grandiosity และโรคซึมเศร้า

Photo Credit : wikipedia.org

วัฒนธรรมการเลี้ยงดูเด็กๆ ที่เชื่อในการให้รางวัลกับการการทำดี (positive reinforcement)

เช่น “you are the greatest, you are the best, you are the brightest” เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะเหล่านี้ขึ้น นักศึกษาเหล่านี้มักจะเคยเป็นนักเรียนลำดับต้นๆ ในชั้นเรียน ได้รับคำสรรเสริญเยินยอจากบรรดาครูที่ได้หล่อหลอมอัตตาที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขา

Deresiewicz ได้บอกว่า มันเป็นความเชื่อมั่นในตัวเองในแบบที่ผิด (false self-esteem) เนื่องจากความรู้สึกมีค่าของเด็กไม่ได้อยู่กับตัวของเด็กเอง มันเป็นความรู้สึกมีค่าแบบมีเงื่อนไขที่ผูกติดกับปัจจัยภายนอก เช่น ผลการเรียน ชื่อเสียงของสถาบันที่เข้าเรียน ดังนั้นเด็กจึงต้องพยายามที่จะแข่งขัน และรู้สึกว่าต้องทำให้สมบูรณ์แบบอยู่เสมอ

นี่เป็น “Unrealistic way of measuring their own worth.” เป็นวิธีการที่ไม่เกิดผลดีในการประเมินค่าของตนเอง เนื่องจากจะนำไปสู่มุมมองที่คับแคบเกินไป คือ หากไม่เป็นที่ 1 ชีวิตก็จะมีคุณค่าอะไรเหลืออยู่เลย เช่น การที่ไม่สามารถเข้าเรียนต่อที่ Harvard, Yale, Princeton ได้นั้นเป็นความเป็นอัปยศ น่าอับอาย เกินกว่าจะที่จะเข้าร่วมสังคมได้

meaning of life
Photo Credit : Bess Hamiti @Pexels.com

การใช้ชีวิตตามแบบแผนทางสังคมที่วางไว้

ว่าคุณจะต้องทำอะไรบ้าง 1, 2, 3, 4 โดยไม่ตั้งคำถามนั้นจะทำให้คุณกลายเป็น high-functioning sheep หรือแกะที่มีความสามารถในการปฏิบัติสูง คุณอาจจะขึ้นสู่จุดที่สูง หรือใกล้จุดสูงสุดได้ แต่คุณจะไม่สามารถทำอะไรที่มีความน่าสนใจหรือแปลกใหม่ได้เลย เพราะคุณสามารถปฏิบัติงานได้ แต่คุณไม่สามารถริเริ่มหรือสร้างสรรค์ได้

ในการเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย/วิทยาลัยในอเมริกา ปกติคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครจะพิจารณาจากผลการเรียน ผลสอบวัดมาตรฐาน กิจกรรมนอกเวลาเรียน และรวมถึง “leadership + service” … Deresiewicz ได้วิพากษ์ต่อว่าสิ่งเหล่านี้ได้กลายมาเป็นเพียงพิธีกรรมที่ทำต่อกัน เพราะรับรู้ว่าเป็นสิ่งที่จะต้องทำ

เมื่อปราศจากการตั้งคำถามแล้ว leadership ซึ่งในความเป็นจริงควรจะเป็นเรื่องของคุณภาพของ character การเสียสละ การริเริ่มและวิสัยทัศน์ มันกลับกลายเป็นเรื่องของการขึ้นสู่จุดสูงสุด นั่นหมายความว่าหากเพียงคุณมีตำแหน่งที่มีอำนาจ คุณคือผู้นำแล้ว สำหรับ service ตามความเป็นจริงมันควรจะเป็นเรื่องการทำให้โลกใบนี้มีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น หรือสนับสนุนคนที่มีโอกาสน้อยกว่า มันกลับกลายเป็นเรื่องของ resume และตัวเอง

ความป่วยทางจิต และความหมายของชีวิต elite education
Photo Credit : Alexas_Fotos from Pixabay

วัฒนธรรมการศึกษาแบบชนชั้นนำ (elite education)

ได้สร้างและส่งต่อชุดคุณค่าทางสังคมที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

1. การทำให้ตนมีความสำคัญหรือมีอำนาจเหนือผู้อื่น (self-aggrandizement)
2. การมุ่งทำสิ่งต่างๆ เพื่อตนเองเป็นสำคัญอยู่เสมอ และ
3. นิยามของชีวิตที่ดีใช้ตัวชี้วัดความสำเร็จแบบดั้งเดิม (conventional markers of success) คือ ความมั่งคั่งและสถานะทางสังคม (wealth and status) เป็นตัวตัดสิน โดยไม่ให้ความสำคัญของการศึกษา การเรียนรู้ การคิด หรือความเป็นไปได้ที่จะทำให้โลกใบนี้มีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น

ซึ่ง 50 ปีที่ผ่านมามันมาได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ชุดคุณค่านี้ได้ทำให้โลกดียิ่งขึ้นกับเฉพาะกลุ่มคนที่มีต้นทุนและโอกาสมากอยู่แล้ว ในขณะที่ทำให้โลกของคนที่มีต้นทุนและโอกาสแย่ลงไปเรื่อยๆ

ความป่วยทางจิต และความหมายของชีวิต มนุษยศาสตร์
Photo Credit : Steve Johnson @Pexels.com

การศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ (humanities)

Deresiewicz เห็นว่าการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ (humanities) มีไว้เพื่อให้ผู้คนได้ตั้งคำถามถึงความหมายของชีวิต และความเป็นไปของโลก โดยการสะท้อนตนเอง (self-reflection) และการค้นหาคำตอบที่กว้างกว่าสายอาชีพของตัวเอง ในฐานะที่เป็นมนุษย์และพลเมือง ไม่ใช่การเรียนเพียงเพื่อเก็บชุดข้อมูลเฉพาะที่เกิดขึ้นอยู่เป็นสามัญ

สำหรับการเรียนรู้ตนเอง (self-knowledge) ไม่ใช่กระบวนการที่เรียบง่ายและไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่และอย่างไร การศึกษาในสถานศึกษาที่เป็นทางการ (formal education) เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย นั้นมีข้อจำกัดในส่วนนี้ ดังนั้นสิ่งที่การศึกษาควรจะทำ คือ ช่วยเด็กพัฒนาวิธีการที่จะใช้สำหรับการสะท้อนตนเองได้

สำหรับตัวของ Deresiewicz เอง เขาก็ยังคงต้องเผชิญหน้ากับวงจรของ grandiosity โรคซึมเศร้า และการเปรียบเทียบอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราจะต้องเผชิญหน้ากับมันต่อไป แต่หวังว่าเราอาจจะรับมือกับมันได้ดีขึ้น สารสำคัญที่เค้าต้องการฝากถึงทุกคนคือ ทุกคนควรจะเป็นอิสระจากระบบและวัฒนธรรมเช่นนี้ได้ เพราะการศึกษาควรเป็นหนทางสู่ความเป็นอิสระจากการครอบงำทั้งหลาย

XB-Education-Mimi-Brian-Harvey-KorPunGun-

เนื้อหานี้อาจถูกเขียนมาไว้เพื่อให้ฉุกคิดกับค่านิยมทางสังคม และกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถามกับตนเองมากขึ้น เนื้อหาและภาษาที่ใช้แปลและเขียนอาจฟังดูเป็นการสื่อสารเหมารวมต่อนักศึกษา Ivy League พอสมควร ในความเป็นจริงอาจจะไม่ใช่ทุกคนใน Ivy league ที่เป็น excellent sheep ก็ได้ บางคนอาจจะได้ผ่านการคิดทบทวนและความเข้าใจกับตนเองมาเป็นอย่างดีแล้วว่าทำไมถึงเลือกและต้องการที่จะเข้า Ivy League

เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหานี้ในบริบทของสังคมไทย อาจพบว่ามีหลายสิ่งที่คล้ายคลึงกันอยู่ โดยเฉพาะเรื่องวัฒนธรรมและค่านิยมทางการศึกษา และความเหลื่อมล้ำทางโอกาสในสังคม แต่เราอยากขอเสริมประเด็นเฉพาะของไทยไว้ด้วยว่า ในวัฒนธรรมและระบบการศึกษาของไทยยังมีความเป็นอำนาจนิยมที่ค่อนข้างเข้มแข็ง ที่ผู้มีอำนาจน้อยกว่า เช่น นักเรียน รุ่นน้อง ครู เจ้าหน้าที่พนักงานและอื่นๆ มีสิทธิที่จะตั้งคำถาม ตลอดจนอิสรภาพที่จะแสดงออกได้อย่างจำกัด ดังนั้นในการที่จะพูดถึงหรือแก้ไขปัญหา เราจะต้องคำนึงถึงปัจจัยนี้ด้วย ตามที่ Newground เคยเสนอเป็นมุมมองไว้ว่า คนรุ่นใหม่ไม่ได้ hopeless หรือไร้ความหวัง แต่ powerless หรือไม่มีอำนาจ/ทรัพยากรเพียงพอที่จะใช้ชีวิตของตัวเอง

Tie-in : ก้อปันกันเชื่อในการส่งต่อความเป็นไปได้ และโอกาสที่จะได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง เพื่อการพัฒนาศักยภาพ โดยที่ไม่จำกัดอยู่ในกรอบค่านิยมแบบดั้งเดิม เพราะเรามีความแตกต่างกัน เราจึงควรจะตัดสินใจเลือกและทำในสิ่งที่ลงตัวและสอดคล้องกับตัวตน เงื่อนไขและความเชื่อของเรา มากกว่าการมุ่งหน้าปฏิบัติตามค่านิยมดั้งเดิมโดยไม่ได้คิดตั้งคำถาม

สโลแกนของก้อปันกัน คือ “Let’s explore the worlds ; know the selves.” สะท้อนถึงความเชื่อของเราในการออกเดินทางไปเรียนรู้โลกกว้าง เรียนรู้ตนเองในต่างประเทศ ก้อปันกันได้พัฒนาโครงการ Cross Border (XB) Education [การศึกษานอกกรอบ] เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคนปรับตัวและเรียนรู้ได้จากสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะและสมรรถนะทางวัฒธรรมของผู้เรียน อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ XB Education คลิกที่นี่

Credits : Lauren Cassani Davis @The Atlantic
The Ivy League, Mental Illness, and the Meaning of Life

# Ivy League ความป่วยทางจิต และความหมายของชีวิต
Featured Image Credit : David Mark, 12019 @Pixabay.com