Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wp-table-builder domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wp-table-builder domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-includes/functions.php on line 6114

Deprecated: parse_str(): Passing null to parameter #1 ($string) of type string is deprecated in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-content/plugins/chaty-pro/includes/class-frontend.php on line 2192

Deprecated: parse_str(): Passing null to parameter #1 ($string) of type string is deprecated in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-content/plugins/chaty-pro/includes/class-frontend.php on line 2192

Deprecated: parse_str(): Passing null to parameter #1 ($string) of type string is deprecated in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-content/plugins/chaty-pro/includes/class-frontend.php on line 2192

Deprecated: parse_str(): Passing null to parameter #1 ($string) of type string is deprecated in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-content/plugins/chaty-pro/includes/class-frontend.php on line 2192
ประวัติ Community College ระบบการศึกษาที่เปลี่ยนอเมริกามาจนถึงทุกวันนี้

Community College : ระบบการศึกษาที่เปลี่ยนอเมริกามาจนถึงทุกวันนี้

Photo Credit : Cparks on Pixabay

ประวัติ Community College
ระบบการศึกษาที่เปลี่ยนอเมริกามาจนถึงทุกวันนี้

ระบบการศึกษาไทยที่ดูจะพัฒนาลงเรื่อยๆ (ขอโทษที่ต้องใช้คำนี้) เป็นตัวกระตุ้นให้ผมอยากเดินทางเพื่อไปค้นหา ‘การศึกษา’ ที่น่าจะตอบโจทย์ของตัวเองได้มากกว่านี้ แต่ใช่ว่าศึกษาต่อต่างประเทศจะเป็นเรื่องง่าย เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่เราต้องรับผิดชอบ โดยเฉพาะเรื่องเงินค่าเทอมที่วัยรุ่นชนชั้นกลางอย่างผมต้องคิดแล้วคิดอีกว่าสามารถเอาตัวรอดได้ในต่างประเทศได้จริง และรบกวนค่าใช้จ่ายจากครอบครัวเท่าที่จำเป็น ความฝันของผมเริ่มจะริบหรี่เมื่อพบว่าค่าเทอมและค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเรียนมหาวิทยาลัยที่อเมริกานั้นพุ่งสูงเป็นหลักล้านทั้งสิ้น

จนกระทั่งมีรุ่นพี่ที่เขาเรียนจบจากอเมริกามาแนะนำให้ผมรู้จักกับระบบการศึกษาอีกประเภทหนึ่งที่ไม่เคยได้ยินเลยตั้งแต่เกิดมา (หรือเคยได้ยินแต่จำไม่ได้จริงๆ) นั่นก็คือ ‘Community College’ หรือเรียกว่า ‘วิทยาลัยชุมชน’ (บางคนอาจเรียกติดปากว่า ‘วิทยาลัย 2 ปี’) ไม่ใช่ทั้งโรงเรียนมัธยม ไม่ใช่มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันที่อยู่คู่อเมริกามานานกว่า 100 ปี ผลิตบุคลากรไปสร้างประเทศกี่ล้านคนแล้วก็ไม่รู้ ก่อนความฝันผมจะดับวูบ อยู่ดีๆ ก็มี Community College เข้ามาต่อแสงสว่างให้อีกครั้ง (เว่อร์มาก แต่จริง 5555) จากการศึกษาและสอบถามรุ่นพี่คนนั้น ผมสามารถสรุปเรื่องราวของ Community College ได้ประมาณนี้

ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1862

สภาในประเทศอเมริกาได้ออกรัฐบัญญัติหนึ่งฉบับที่ว่าด้วยการสนับสนุนการศึกษาในสังคมเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยรัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่ง ซึ่งนโยบายนี้ครอบคลุมถึงคนทุกเชื้อชาติที่อยู่ในประเทศอเมริกา ไม่แบ่งแยกผิวสี

ในปี 1901 เพรซิเดนท์ของมหาวิทยาลัยชิคาโก้ที่ชื่อ William Rainey Harper ได้ก่อตั้ง ‘Joliet Junior College’ ขึ้นมา เขาได้แรงบันดาลใจมาจากระบบการศึกษาในประเทศเยอรมนี ที่จะแยกการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยออกเป็น 2 ช่วง คือต้องเรียน 2 ปีแรกให้เสร็จก่อน แล้วค่อยเรียนที่เหลือให้จบ เขาเชื่อว่าการศึกษาแบบนี้จะทำให้คนที่สมัครเข้าไปเรียนได้รู้ว่าตัวเองชอบหรือถนัดในสิ่งไหน (สวนทางกับนักเรียนไทยที่เรียนจบมาแล้วยังไม่รู้เลยว่าชอบคณะที่เรียนหรือเปล่า แต่ขอให้แอดมิชชั่นติดไว้ก่อน!) William Rainey Harper มองเห็นว่า ถึงแม้รัฐจะสนับสนุนการศึกษาของประชาชนทุกคนในประเทศ แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่มาก หนึ่งคือคุณภาพของการศึกษาที่ไม่มีมาตรฐานในการจัดการ สองคือมหาวิทยาลัยอยู่ไกลบ้าน ค่าเทอมก็แพง คนที่เรียนจบมัธยมรู้สึกว่าการเดินทางมีค่าใช้จ่ายและเสียเวลา พวกเขาเลยเลือกที่จะไม่เรียนต่อในมหาวิทยาลัย เรื่องสุดท้ายคือพวก ‘ชนชั้นสูง’ ในมหาวิทยาลัยที่พยายามกีดกันการเข้าถึงและแบ่งแยกชนชั้นกับคนอื่น

จริงจังขึ้นมาอีกนิด เรื่องการศึกษานี่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อเมริกาเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมและการสร้างประเทศอย่างจริงจัง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนโยบายต่างๆ มองเห็นแล้วว่า ถ้าไม่ทำให้คนมีการศึกษาไปมากกว่านี้ อีกหน่อยสู้ประเทศอื่นไม่ได้แน่ๆ โมเดล ‘Junior College’ ของ William Rainey Harper เลยเข้าตากรรมการและได้รับการผลักดันเรื่อยมาจนถึงการพิสูจน์ด่านแรก ช่วงทศวรรษที่ 1930s เกิดเหตุการณ์ Great Depression หรือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก มีคนตกงานเป็นจำนวนมาก วิทยาลัยชุมชนที่มีอยู่จำนวนหนึ่งแล้ว ได้เสนอให้มีการฝึกงานเพื่อลดอัตราการว่างงาน เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทักษะคนในชุมชน ซึ่งช่วงแรกที่เปิดสอนนั้น เป็นวิชาพื้นฐานอย่างศิลปศาสตร์เท่านั้น ด้วยความที่ ‘Junior College’ ตั้งขึ้นมาเพื่อขจัดปัญหาการเดินทาง เลยมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามชุมชนต่างๆ จนกระทั่งสุดท้ายได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘Community College’ เพื่อให้เข้ากันกับบริบทอย่างแท้จริง

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ถึงแม้ประเทศอเมริกาจะเป็นผู้ชนะในสงคราม แต่ประชาชนทุกคนก็ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า เพราะสงครามเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับทุกคน รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ออกกฎหมายที่มีชื่อเรียกว่า ‘GI Bill’ สนับสนุนการศึกษาของทหารและบุคลากรที่ช่วยรบ เพราะคิดว่า แม้สงครามจะจบแล้ว แต่การพัฒนาประเทศต้องดำเนินต่อไป จากการที่มี GI Bill นี้ ทำให้ประชากรที่มีสิทธิได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยชุมชนในละแวกที่ตัวเองอาศัยอยู่ ตัวเลขบันทึกไว้ได้ว่า ในช่วงนั้น มีนักศึกษาเพิ่มขึ้นถึง 2.2 ล้านคน ส่วนหนึ่งเป็นผู้หญิง 60,000 คน และคนผิวดำอีกกว่า 70,000 คน ช่วงนี้ของประวัติศาสตร์อเมริกาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะทุกคนมีสิทธิได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันที่แท้จริง เพราะเมื่อก่อน คนที่จะไปมหาวิทยาลัยนั้น ส่วนมากจะเป็นผู้ชายผิวขาวทั้งนั้น – ช่วงนี้ละที่การศึกษาจะพลิกโฉมประเทศจริงๆ คนที่เรียน Community College ในตอนนี้คือรุ่นพ่อแม่ของเรา หรือที่ศัพท์เทคนิคเรียกว่า ‘Baby Boomers’ นั่นเอง

‘Junior College’ ที่กลายมาเป็น ‘Community College’ ในทุกวันนี้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘นวัตกรรม’ ระดับชาติที่ไม่ว่ารัฐบาลรุ่นไหนขึ้นมาบริหารประเทศ ก็จะให้ความสำคัญเสมอ เพราะเข้าถึงคนส่วนมากในสังคม และทำให้ประเทศมั่นคงแข็งแรง เชื่อไหมว่าในปัจจุบัน คนที่เรียนจบปริญญาตรีแบบ 4 ปี กว่า 50 เปอร์เซ็นต์เรียนจบ Community College แบบ 2 ปี แล้วค่อยเข้าไปต่อในมหาวิทยาลัยอีก 2 ปี – –  จากเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั้งประเทศ ทำให้ Community College มีทางเลือกในการศึกษามากขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน มีสายอาชีพให้ศึกษา เช่น วิศวะ พยาบาล และบัญชี ควบคู่ไปกับการเรียนสายวิชาการอื่นๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ Community College แตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยก็คือ พันธกิจที่ต้องเข้าถึงชุมชน และซึมซับวัฒนธรรมต่างๆ โดยรอบเพื่อให้อยู่รวมกันได้อย่างกลมกลืน บางคนมองว่าสิ่งนี้จะทำให้นักเรียนต่างเมืองหรือต่างชาติหมดโอกาสเรียนรู้ถึงความหลากหลาย แต่ผมว่านี่ละคือการเรียนรู้ความหลากหลายที่มหาวิทยาลัยไม่มี

พอพูดถึงมหาวิทยาลัยแล้ว…

Community College กลายเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อมหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา ครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1960 มูลนิธิ The W.K. Kellogg ได้มอบทุนการศึกษาเพื่ออบรมผู้นำที่จะไปเป็นอธิการบดีหรือเพรซิเด้นท์ในมหาวิทลัย มีมหาวิทยาลัยกว่า 12 แห่งตอบรับโปรเจ็คท์นี้และก่อตั้ง ‘Junior College’ ขึ้นในแคมปัสของตัวเอง 2 ปีผ่านไป มีผู้จบหลักสูตรนี้หลายร้อนคนเข้าไปทำงานในสถาบันการศึกษาระดับชาติตามที่ต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งที่วางรากฐานให้แข็งแกร่งจนถึงวันนี้  ความสัมพันธ์อันดีระหว่าง Community College กับมหาวิทยาลัยที่อยู่ในรัฐเดียวกันยังเกี่ยวข้องไปถึงการเข้าศึกษาต่อโดยมีเงื่อนไขพิเศษให้กับนักศึกษา เช่น คนที่สำเร็จหลักสูตร 2 ปีแรกไม่จำเป็นต้องยื่นผลสอบบางตัว ใช้ Fast Track เข้ามหาวิทยาลัยได้เลย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ทั้ง 2 สถาบันได้ตกลงกันไว้

ค.ศ. 2001 เป็นปีครบรอบการก่อตั้ง Community College แห่งแรกในประเทศอเมริกา สถาบันการศึกษาที่เก่าแก่กว่ามหาวิทยาลัยทุกแห่งในประเทศไทย ปัจจุบัน Community College ได้รับความนิยมจากนักเรียนชาวต่างชาติจำนวนมาก เพราะมีค่าเล่าเรียนที่ถูกกว่ามหาวิทยาลัย คุณภาพการศึกษาที่ดี ครูใกล้ชิดกับนักเรียนมากๆ กิจกรรมมากมายในวิทยาลัย ทั้ง ดนตรี กีฬา เป็นต้น เทคโนโลยีในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะเงื่อนไขที่เอื้อให้เราเข้าเรียนได้ง่ายกว่า เช่น ไม่ต้องยื่นคะแนน SAT หรือ TOELF แต่ก็ต้องผ่านข้อสอบของวิทยาลัย (แต่ก็มีคอร์สสำหรับติวเพื่อช่วยเหลือนักเรียนชาวต่างชาติอยู่อีกนั่นละ) ความเจ๋งอีกอย่างของ Community College คือการคำนึงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษา เท่าที่ศึกษามา ส่วนใหญ่วิทยาลัยจะตั้งอยู่ในเขตที่อากาศดี ปลอดโปร่ง ใกล้ชิดธรรมชาติ และเดินทางสะดวก นั่งนึกเล่นๆ ว่ามีสถาบันการศึกษาไหนในไทยบ้างนะที่สะดวกสบายได้เท่านี้บ้าง

ผมกลับนึกแปลกใจว่าทำไมตัวเองถึงไม่รู้จัก Community College เลย ทั้งๆ ที่คนไทยก็ไปเรียนต่างประเทศกันเยอะแยะ จริงๆ มันก็มีคำตอบอยู่หลายประเด็นที่ผุดเข้ามาในหัว เช่น คนอาจมองว่า Community College เหมือนโรงเรียนอาชีวะที่บ้านเราไม่ได้ให้ค่า แถมยังมองด้วยสายตาดูถูกด้วยซ้ำไป หรือไม่ก็คิดว่า วุฒิอนุปริญญาจากการเรียนแค่ 2 ปีมันไม่สมศักดิ์ศรีเทียบเท่าวุฒิปริญญาจากการเรียน 4 ปี โดยไม่ได้วัดจากความสามารถที่ได้มา โดยส่วนตัวผมค่อนข้างไว้ใจการศึกษาใน Community College มากๆ เพราะเขาคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้คนในประเทศได้เรียน ไม่ใช่เพื่อขายนักเรียนต่างชาติเท่านั้น ถ้าจำไม่ผิด ตอนนี้ในประเทศอเมริกามี Community College มากกว่า 1,200 แห่ง กระจายกันออกไปตามแต่ละรัฐ สำหรับคนที่สนใจหลักสูตรแบบนี้ ต้องไม่ลืมว่าแต่ละแห่งจะมีความแตกต่างกันออกไป ตามหลักสูตรและวัฒนธรรมของรัฐ ฉะนั้นก็ควรจะศึกษาก่อนอย่างละเอียด หรือปรึกษาศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศก็ได้ แล้วจะรู้ว่าการเรียนต่ออเมริกาโดยใช้เงินแค่หลักแสน มีอยู่จริง

อ่านเพิ่มเติม

5 สิ่งที่คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Community College คลิก

5 สิ่งใน community college ที่จะทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จ คลิก

ประวัติ Community College
แปลและเรียบเรียงโดย Kim Pattarapong

แหล่งอ้างอิง : History of American Community College

1. Historical Information of Community College คลิก
2. Community Colleges in America: A Historical Perspective คลิก
3. How Community Colleges Changed the Whole Idea of Education in America คลิก

ข้อมูลนี้จัดทำโดยศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศก้อปันกันและขอสงวนไว้ใช้สำหรับเว็บไซด์ของก้อปันกันเท่านั้น