Post-Graduate Programs in Canada
เรียนป.โท ในแคนาดา
หากคุณจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว สนใจเรียนต่อต่างประเทศ และมีความประสงค์ที่จะเรียนต่อแคนาดา เพื่อวุฒิการศึกษา ตลอดจนโอกาสที่จะขอใบอนุญาตทำงานในแคนาดา (PGWP: Post-Graduation Work Permit) หลังจบการศึกษา คุณจะอยู่ในกลุ่มที่จะสนใจหลักสูตร Post-Graduate Programs โดยเราได้สรุปข้อมูล 2 ทางเลือกในการเรียนต่อแคนาดาหลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรีมาให้ไว้ในบทความนี้แล้ว
Post-Graduate Programs คืออะไร?
หลักสูตร Post-Graduate Programs คือ การศึกษาต่อในหลักสูตรสำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีแล้ว ซึ่งจะประกอบด้วย 2 ทางเลือก ได้แก่
1) Master’s Degree คือ การศึกษาต่อระดับปริญญาโท ซึ่งโดยทั่วไป ใช้เวลาเรียนประมาณ 1.5 – 2 ปีการศึกษา และมักจะมีข้อกำหนดในส่วนของเงื่อนไขการสมัครเข้าศึกษาต่อ เช่น GPA ผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ และอาจรวมถึงสาขาการเรียนที่จบก่อนหน้าที่เคร่งครัดมากกว่า โดยหลักสูตรป.โทที่แคนาดา มักจะแบ่งหลักสูตรการเรียนออกเป็น 2 สาย ได้แก่
• หลักสูตรป.โท แบบทฤษฎี (theory-based) หรือเน้นค้นคว้าวิจัย (research-focused)
• หลักสูตรป.โท เชิงปฏิบัติแบบรายวิชา (course-based) ผสมผสานทั้งทฤษฎีไว้กับการนำไปใช้
2) Post-Degree Diploma / Graduate Certificate หรืออาจเรียกว่า Post-Baccalaureate คือ การศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรสำหรับบัณฑิต (บุคคลที่จบป.ตรีแล้ว) ที่หลักสูตรการเรียนจะเน้นไปที่การฝึกฝน พัฒนาความรู้และทักษะให้ผู้เรียนมีความพร้อมและประสบการณ์สำหรับการทำงานในสายงานเฉพาะทางที่สนใจ หลังสำเร็จการศึกษาแล้ว (career training) และมักจะมีเงื่อนไขในการรับเข้าศึกษาต่อที่ยืดหยุ่นกว่าปริญญาโท
• ในฝั่ง British Columbia หลักสูตรสำหรับบัณฑิตมักจะมีชื่อเรียกว่า Post-Degree Diploma หรือ Post-Baccalaureate Diploma โดยทั่วจะใช้เวลา 2 ปีการศึกษา ทั้งนี้บางหลักสูตรอาจใช้เวลา 1 ปี
• ในฝั่งของ Ontario มักจะใช้ชื่อว่า Graduate Certificate ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นหลักสูตร 2 ปี แต่จะมีบางหลักสูตรที่เปิดสอน 2 ปี
เปรียบเทียบ 2 ทางเลือก
Postgraduate Certificate/Diploma | Master’s Degree | |
---|---|---|
หลักสูตร | Career-focused: เพื่อการเตรียมตัวสำหรับการทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้อง มีองค์ประกอบของ co-op ในหนึ่งช่วงเทอมการศึกษาเพื่อประสบการณ์การทำงานและการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ | Theory and research-focused: เพื่อการศึกษาเชิงทฤษฎีและการค้นคว้าวิจัย
*ทั้งนี้หากสนใจเรียนป.โท เพื่อการนำไปใช้งานจริง อาจเลือกเป็นหลักสูตรป.โทรูปแบบ course-base ได้ |
เป้าหมาย | โอกาสสำหรับการเปลี่ยนสายอาชีพหรือพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง | เพื่อการพัฒนาความรู้และการเลื่อนขั้นในบริษัทหรือสายงาน |
เงื่อนไขในการสมัครเข้าเรียน | จบปริญญาตรีด้วย GPA ไม่ต่ำกว่า 2.0 - 2.5 *ขึ้นอยู่กับสถาบัน | จบปริญญาตรีด้วย GPA ไม่ต่ำกว่า 3.0 + *บางสถาบันอาจมีเกณฑ์ที่ยืดหยุ่นกว่า |
สามารถขอ PGWP หลังจบการศึกษาได้ไหม? | ได้ 1 ปี หากหลักสูตรเรียน 1 ปี หรือ ได้สูงสุด 3 ปี หากหลักสูตรเรียน 2 ปี | ได้สูงสุด 3 ปี หากหลักสูตรเรียน 2 ปี |
Tuition (ค่าเล่าเรียน) | ~ 15,000 - 25,000 CAD ต่อปีการศึกษา | ~ 18,000 - 30,000 CAD ต่อปีการศึกษา |
ระดับภาษาอังกฤษที่ต้องใช้ | Academic IELTS ~ 6.5 หรือ TOEFL iBT 80-88 | เท่ากันหรือสูงกว่า |
นอกจากจาก 2 ตัวเลือกนี้แล้ว ยังมีตัวเลือกอื่นอีกไหม?
• หากความตั้งใจของคุณ คือ การไปแคนาดาเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษา พร้อมเก็บเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์การทำงานระยะสั้น 1-2 ปี โดยไม่ได้มุ่งหวังที่จะไปอยู่และทำงานในประเทศแคนาดาระยะยาว คุณอาจจะเหมาะสมกับโครงการ Work & Study ของเอกชนมากกว่า
• หากคุณประสงค์ที่จะเรียนและศึกษาต่อหลังจบป.ตรีแล้ว และต้องการขอ PGWP แต่ไม่สามารถเข้าเรียนในหลักสูตรที่สนใจได้ คุณอาจจะลองดูทางเลือกในการเรียน Undergraduate Programs ใหม่ – อ่านเพิ่มเติมที่นี่
เรียนต่อแคนาดา ทำงานได้ไหม? เลือกโปรแกรมเรียนต่ออย่างไรดี?
Deprecated: preg_match(): Passing null to parameter #2 ($subject) of type string is deprecated in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-content/plugins/presto-player/inc/Support/Utility.php on line 9
Deprecated: preg_replace(): Passing null to parameter #3 ($subject) of type array|string is deprecated in /var/www/vhosts/korpungun.com/demo.korpungun.com/wp-includes/kses.php on line 1805
ทำไมการเรียนต่อแคนาดาถึงน่าสนใจ?
1. การทำงานระหว่างเรียน :
ระหว่างที่ศึกษาในหลักสูตรเชิงวิชาการ (ไม่รวมการเรียนปรับภาษาอังกฤษ) นักเรียนสามารถทำงานได้สัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง
2. การทำงานเต็มเวลาช่วงปิดเทอม :
ช่วงปิดเทอม สามารถทำงานเต็มเวลาได้สัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง +
3. โอกาสทำงานในแคนาดาหลังเรียนจบ :
เมื่อจบการศึกษาในระดับ Post-Graduate Diploma (หลักสูตรระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป) หรือปริญญาโทแล้ว ผู้เรียนสามารถขอใบอนุญาตทำงาน (PGWP) ได้นานถึง 3 ปี *ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเรียนของหลักสูตร ทั้งนี้หากเรียนป.โท (Master’s Degree) จะขอ PGWP ได้ 3 ปี
4. โอกาสเป็น Permanent Residence :
หากทำงานด้วย PGWP อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี สามารถสมัครแข่งขันเพื่อขอสถานะ PR : Permanent Residence ของแคนาดาได้อีกด้วย
5. อัตราแลกเปลี่ยนที่ประหยัดกว่า :
อัตราแลกเปลี่ยน THB-CAD ต่ำกว่า THB-USD จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ หากเปรียบเทียบกับการเรียนต่ออเมริกา
Photo Credit : Charlotte May from Pexels
เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรที่แคนาดา
สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนต่อแคนาดา มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยมีหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ Post-Graduate Diploma สำหรับความรู้ละทักษะสำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีแล้ว เพื่อการเตรียมความพร้อมด้านทักษะและความรู้สำหรับการทำงานเฉพาะทาง
ตัวอย่างสาขาการเรียน Post-Graduate Diploma
• Accounting
• Business Law
• Financial Analysis
• Financial Planning
• Global Banking and Economics
• Hospitality Management
• Hospitality Marketing
• Human Resources Management
• Information and Communication Technology
• International Business Management
• Journalism
• Marketing
• Project Management
• Sales
• Supply Chain Management
• Computer and Information
• Data Analytic
• Health Information Management
• Hospitality Services Management
• International Supply Chain Management
• Web & Mobile App Design
• Web & Mobile App Development
• Supply Chain and Logistic
สถาบันบางส่วนที่แนะนำสำหรับผู้ที่จบป.ตรีแล้ว
นอกจากนี้แล้วเรายังมีสถาบันอื่นๆอีกที่สามารถแนะนำและให้บริการได้
สามารถติดต่อเข้ามาพูดคุยและสอบถามได้ครับ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเรียนต่อ Post-Degree แคนาดา
สำหรับหลักสูตรของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยรัฐบาลแคนาดา จะมีค่าเล่าเรียนประมาณ 350,000 – 500,000 บาท ต่อปี ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งจ่ายเป็นรายเทอมได้
*สำหรับค่าครองชีพ (ค่าที่พัก และใช้จ่ายส่วนตัว) เดือนละประมาณ 1,000 – 1,500 CAD
สำหรับการเรียนวิทยาลัย มหาวิทยาลัยของรัฐบาล โดยทั่วไปแล้ว
- หลักสูตร 1 ปี แนะนำให้เตรียม statement ไม่ต่ำกว่า 1.4 – 1.5 ล้านบาท
- หลักสูตร 2 ปี แนะนำให้เตรียม ขั้นต่ำ 1.8 – 2 ล้านบาท
* ผู้สมัครสามารถเป็น sponsor ให้กับตนเอง หรือให้บุคคลใกล้ชิดเป็น sponsor ให้ได้
* หากมีทรัพย์สิน สินทรัพย์สามารถใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าได้
หลักสูตรของวิทยาลัยรัฐบาล บางหลักสูตรจะมีช่วงเทอมให้ทำ co-op หรือ work practicum ให้ได้เรียนรู้จากการทำงานและลงมือปฏิบัติจริง ทั้งนี้อาจไม่ได้มีในทุกหลักสูตร ต้องศึกษารายละเอียดเป็นรายหลักสูตร ซึ่งหากหลักสูตรไหนมี จะช่วยในการเตรียมตัว และเพิ่มโอกาสในการหางานหลังเรียนจบได้
สรุปเรื่องการขอ PGWP หลังจบการศึกษา
ทางเลือกสำหรับการเรียนประกาศนียบัตรและปริญญาโทที่แคนาดา เพื่อให้สามารถขอ PGWP (Post-Graduation Work Permit) สำหรับการทำงานในแคนาดาหลังเรียนจบได้ ได้แก่
1. เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตร ที่ใช้เวลา 1 ปี
สามารถขอ PGWP สำหรับทำงานในแคนาดาได้ 1 ปี
2. เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตร ที่ใช้เวลา 1 ปี 2 หลักสูตร
สามารถขอ PGWP สำหรับทำงานในแคนาดาได้สูงสุดถึง 2-3 ปี
3. เรียนหลักสูตรปริญญาโท (Master’s Degrees) ที่ใช้เวลา 1-2 ปี
สามารถขอ PGWP สำหรับทำงานในแคนาดาได้สูงสุดถึง 3 ปี
หมายเหตุ: สำหรับระยะเวลาของ PGWP ที่จะได้รับขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐบาลแคนาดาที่จะพิจารณาอนุมัติ และสามารถนโยบายเรื่องระยะเวลาของ PGWP ได้ที่นี่
วีดีโอแนะนำเรียนต่อ ทำงานในแคนาดา
เรียนต่อปริญญาตรี ปริญญาโทแคนาดา
ประสบการณ์เรียนและทำงานในแคนาดา
สุดท้ายนี้ …
หากใครมีโอกาสและสนใจไปศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในประเทศตะวันตก เรียนต่อวิทยาลัยในแคนาดา เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยนะครับ และหากสนใจเรียนต่อแคนาดา สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษา ข้อมูลเพิ่มเติม และใช้บริการสมัครเข้าเรียน สมัครขอวีซ่า และเตรียมตัวก่อนเดินทางกับก้อปันกันได้ ฟรี !
เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรียนต่อแคนาดา Study in Canada คลิก
# เรียนป.โท ในแคนาดา
Photo Credits : iStock, Pexels
FAQs
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเรียนต่อแคนาดา
Consultation
ถึงแม้แคนาดาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ของโลกรองจากรัฐเซีย ชุมชนและเมืองที่มีผู้คนอาศัยและใช้ชีวิตส่วนใหญ่จะอยู่ทางใต้ของประเทศที่พรมแดนอยู่ติดและใกล้ชิดกับประเทศสหรัฐอเมริกา
สำหรับเมืองที่ผู้คนนิยมเดินทางไปเรียน ได้แก่
- Vancouver รัฐ British Columbia เมืองขนาดกลาง ใกล้และสะดวกที่สุดสำหรับการเดินทางไปจากประเทศไทย เมืองที่มีความหลากหลายของผู้คนและวัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คนที่มี balance และใกล้ชิดกับธรรมชาติ มีรถไฟฟ้าและรถประจำทางที่สะดวกต่อการเดินทางเข้าและออกเมือง ที่สำคัญเป็นเมืองที่อากาศอบอุ่นกว่าเมืองอื่นๆในแคนาดา *อ่านบทความ รีวิว เมือง Vancouver แวนคูเวอร์ แคนาดาในหนึ่งวัน
- Okanagan รัฐ British Columbia เมืองขนาดเล็ก เมืองพักตากอากาศที่โด่งดังในแคนาดา มีอากาศอุ่นที่สุด(กว่า Vancouver)ของประเทศ ตั้งอยู่ในรัฐโคลัมเบีย อยู่ห่างจาก Vancouver ประมาณ 45 นาทีโดยเครื่องบิน หรือประมาณ 4 ชั่วโมงโดยรถยนต์ *อ่านบทความ [รีวิว] เมือง Okanagan รัฐ British Columbia Canada ดินแดนธรรมชาติแสนอบอุ่น
- Toronto รัฐ Ontario เมืองขนาดใหญ่ เมืองเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของแคนาดา มีประชากรจำนวนมาก วิถีชีวิตของผู้คนของเมืองใหญ่ที่มีจังหวะชีวิตที่รวดเร็ว มีรถไฟฟ้าและรถประจำทางอำนวยการเดินทาง หลายคนมีมุมมองว่า Toronto เปรียบเสมือน New York City ของแคนาดา
- Montreal รัฐ Quebec เมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐ Quebec ของแคนาดา (เมืองหลวงของประเทศแคนาดา Ottowa ตั้งอยู่ในรัฐนี้) ใกล้สำหรับการเดินทางจากทวีปยุโรป มีการใช้ภาษาฝรั่งเศสในชุมชนและวิถีชีวิตของผู้คนโดยทั่วไป ผสมผสานกับภาษาอังกฤษ *อ่านบทความ รีวิว เมือง Montreal มอนทรีออล แคนาดา หรือ ฝรั่งเศส?
*หากยังไม่แน่ใจว่าเมืองไหนดี? เราขอแนะนำบทความ เรียนต่อแคนาดา Vancouver Toronto Montreal เมืองไหนเหมาะกับคุณมากที่สุด!
ระบบการศึกษาในประเทศแคนาดาที่มีวัฒนธรรมส่งเสริมอำนาจการเรียนรู้ของผู้เรียน สนับสนุนความสามารถที่แตกต่างของนักเรียน และให้ความสำคัญต่อความเข้าใจ ยอมรับในวัฒนธรรมที่แตกต่าง สังคมโลกาภิวัตน์ รวมถึงการเป็นพลเมืองของโลกของผู้เรียน ทำให้การเรียนต่อมัธยมในโรงเรียนของรัฐบาลในประเทศแคนาดากำลังได้รับความนิยมจากผู้คนทั่วโลก
สำหรับค่าใช้จ่ายประมาณ 600,000 - 700,000 บาท/ปี รวมค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียม ค่าที่พัก ค่าประกันสุขภาพ และหนังสืออุปกรณ์การเรียน ที่สำคัญ ผู้ปกครองและนักเรียนสามารถเลือกเมืองและโรงเรียนตามความต้องการของตนเองได้ ผู้ปกครองสามารถไว้วางใจในเรื่องของความปลอดภัย สภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับการเรียนรู้ และการเติบโตอย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโรงเรียนที่ไม่ได้อยู่ในเขตเมืองใหญ่
อ่านบทความ [รีวิว] เรียนต่อมัธยมแคนาดา เติบโตด้วยชุดคุณค่าสากล
สำหรับการเรียนภาษาอังกฤษในแคนาดา ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสารกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับบุคลที่ต้องการเดินทางไปประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเราขอแบ่งสถาบันสอนภาษาอังกฤษออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. สถาบันสอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษาของรัฐบาล เช่น วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ซึ่งมีข้อมูลที่สำคัญ คือ
- ที่ตั้ง: มีตั้งอยู่ทั้งในเขตเมืองขนาดใหญ่และนอกเมือง โดยจะต้องอยู่ในอาณาเขตของวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย
- หลักสูตร: ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหลักสูตรสอนภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ (Academic English) ที่ออกแบบมาให้ผู้เรียนปรับพื้นฐานภาษาและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการใช้ศึกษาต่อ เมื่อผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับที่สถาบันกำหนด สามารถเข้าศึกษาต่อหลักสูตรสำหรับวุฒิการศึกษาในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยนั้นๆ ได้โดยไม่ต้องยื่นผลสอบ TOEFL/IELTS อีก
- วันที่เริ่มและระยะเวลาเรียน: มักจะต้องเริ่มเรียนตามปฏิทินการศึกษาของสถานศึกษา และจะต้องลงเรียนเป็นเทอม ซึ่งมีวันเริ่มและสิ้นสุดการเรียนของแต่ละเทอมที่ตายตัว ไม่สามารถปรับให้ยืดหยุ่นตามความสะดวกของผู้เรียน
2. สถาบันสอนภาษาอังกฤษของเอกชน ซึ่งมีข้อมูลที่สำคัญ คือ
- ที่ตั้ง: ส่วนมากแล้วจะตั้งอยู่ในย่านเมืองขนาดใหญ่ เช่น Vancouver, Toronto, Calgary, Montreal (สำหรับ Montreal จะมีหลักสูตรภาษาฝรั่งเศสให้เลือกเรียนด้วย เนื่องจากเป็นเมืองที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส) เป็นต้น
- หลักสูตร: สถาบันสอนภาษาเอกชนมักจะมีตัวเลือกหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษที่หลากหลายให้เลือกเรียน อาทิ General English (การปรับพื้นฐานและการใช้งานทั่วไป), Business English (เพื่อการใช้ในการทำงาน/ธุรกิจ), Culture (เชิงวัฒนธรรมและสังคม), University Pathway (เพื่อใช้ในการศึกษาต่อ) ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนระดับภาษาอังกฤษให้จบจากสถาบันในระดับที่กำหนด และใช้ผลการสำเร็จระดับภาษาจากสถาบันในการยื่นสมัครเข้าเรียนวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆในแคนาดาได้โดยไม่ต้องใช้ผลสอบ TOEFL/IELTS
เราได้มีโอกาสไปเยี่ยม โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในแคนาดา เมืองแวนคูเวอร์และเมืองโตรอนโต้ เพื่อนำประสบการณ์ตรงจากที่ได้ไปสัมผัสมาด้วยตนเอง มาใช้ในการแนะนำ และให้คำปรึกษาแก่บุคคลที่สนใจเรียนภาษาอังกฤษในประเทศแคนาดา ซึ่งเราได้เขียนบทความ [แนะนำ] 4 โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในแคนาดา
เราแนะนำ 4 ปัจจัยพื้นฐานที่ควรคำนึงถึง ในการค้นหาข้อมูลและวางแผนสำหรับการเรียนต่อแคนาดา ได้แก่ ที่ตั้ง สาขาการเรียน ranking และค่าใช้จ่าย คุณสามารถอ่านคำแนะนำเพิ่มเติมได้ในบทความนี้
สำหรับบุคคลที่ต้องการเดินทางไปแคนาดาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะเฉพาะทาง พร้อมกับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงาน พร้อมโอกาสที่จะได้รับค่าตอบแทน สร้าง connection กับเพื่อนๆจากนานาประเทศ และพัฒนา resume/cv ของตนเอง เราขอแนะนำโครงการ Study & Work ของวิทยาลัยเอกชนในประเทศแคนาดา เช่น Greystone College, ILAC International College, Tamwood Career, VGC International College เป็นต้น
ในโครงการ Study & Work ผู้เรียนจะได้
- ศึกษาและเรียนรู้เฉพาะทางเพิ่มเติมสำหรับการทำงานในด้านต่างๆที่สนใจ อาทิ Business Administration, Sales & Marketing, Digital Marketing, Web Development, UX Design/UI Design, Hospitality ครึ่งหนึ่งของระยะเวลาโครงการ
- ทำงาน Co-op อีกครึ่งหนึ่งของระยะเวลาโครงการ ซึ่งวิทยาลัยจะมีการจัดช่วยแนะนำในการจัดหารงาน เพื่อเป็นการฝึกงานที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการเรียน เพื่อโอกาสการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง พร้อมโอกาสที่จะได้รับค่าตอบแทน
- ประกาศนียบัตรในการเข้าร่วมและจบโครงการ
ถึงแม้แคนาดาจะเป็นประเทศที่มีนโยบายด้านผู้อพยพที่ค่อนข้างเปิดกว้างกว่าหลายประเทศในทวีปตะวันตก สำหรับการยื่นขอวีซ่าเข้าประเทศแคนาดาเพื่อการศึกษาสำหรับคนไทย เป็นเรื่องที่เราต้องใช้เวลาในการหารือหรือพูดคุยกันในรายละเอียดเพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเสี่ยงอีกครั้ง
ข้อมูลสำคัญสำหรับวีซ่าเพื่อการศึกษาในแคนาดา
- สำหรับการลงเรียนระยะเวลา 24 สัปดาห์ หรือสั้นกว่านั้น สามารถขอและใช้วีซ่าท่องเที่ยวในการเดินทางเข้าประเทศได้
- สำหรับการลงเรียนนานกว่า 24 สัปดาห์ จะต้องขอวีซ่านักเรียนในการเดินทางเข้าประเทศ
- แนะนำให้ยื่นขอวีซ่าผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้ผู้สมัครทุกท่านที่อยู่ในประเทศไทยจะต้องเดินทางมายังกรุงเทพเพื่อการทำ biometric กับศูนย์ VFS บริการรับยื่นวีซ่าแคนาดา
สำหรับความยากง่ายในการขอวีซ่าแคนาดา
- บจก.ก้อปันกันขอชี้แจงว่า เราไม่มีนโยบายที่จะรับรองผลการยื่นสมัครขอได้ (ไม่มีบุคคลหรือองค์กรใดที่สามารถทำได้) เนื่องจากการพิจารณาอนุมัติผลการสมัครขอวีซ่าขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่กงสุล ทั้งนี้เราสามารถที่จะช่วยดำเนินการในการยื่นสมัครออนไลน์ และแนะนำในการเตรียมเอกสารได้
การใช้บริการทนาย (Citizenship & Immigration Practitioner) เป็นตัวแทนยื่นขอวีซ่าแคนาดา (ไม่บังคับใช้)
- เรามีทนายที่เราร่วมงานด้วยมีสำนักงานอยู่ที่ Vancouver ประเทศแคนาดา ซึ่งได้ช่วยให้นักเรียนของเราที่มีประวัติและความเสี่ยงที่จะโดนปฏิเสธวีซ่าผ่านได้หลายเคส
- ทนายชาวแคนาดามีใบอนุญาติและประสบการณ์ในการให้คำแนะนำ คำปรึกษาและเป็นตัวแทนในการยื่นขอวีซ่าแคนาดา อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- ทนายมีประสบการณ์ ตลอดจนความเชี่ยวชาญ รู้ข้อกฎหมาย ดังนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะถูกปฏิเสธในการขอวีซ่า (หากโดนปฏิเสธวีซ่าจากการยื่นโดยไม่ใช้ทนาย และต้องการยื่นใหม่โดยใช้ทนาย ค่าธรรมเนียมของทนายในการแก้ไขเคส อาจจะสูงกว่าในการใช้บริการทนายครั้งแรก
โดยทั่วไปแล้วจะไม่มีทุนการศึกษา นอกจากผู้ที่สมัครเข้าศึกษาในสถาบันเอกชน อาจมีส่วนลดตามโปรโมชั่นที่สถาบันกำหนด หรือการสมัครศึกษาในมหาวิทยาลัยบางแห่ง อาจมีทุนการศึกษาลดหย่อนค่าเล่าเรียนได้บางส่วน (ไม่มากไปกว่า 10-40%)
ดังนั้นสำหรับการศึกษาต่อในประเทศแคนาดา ผู้สมัครจำเป็นที่จะต้องมี sponsor หรือบุคคล/องค์กร/หน่วยงาน ที่เป็นผู้ดูแลและสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตและการศึกษาต่อ
สำหรับข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและเป็นทางการเกี่ยวกับวีซ่านักเรียน วีซ่าท่องเที่ยว การยื่นขอ PGWP แคนาดา สามารถดูได้ที่
Admission
สำหรับการเตรียมตัวสมัครเข้าเรียนต่อแคนาดา ทีมงานของก้อปันกันขอแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่
1) การเตรียมเอกสารสำหรับการสมัคร
โดยทั่วไปแล้วผู้สมัครควรจะต้องเตรียม a) passport ที่มีอายุการใช้งานเหลือมากกว่า 6 เดือน, b) ใบแสดงผลการเรียนชั้นการศึกษาสูงสุดที่จบ (transcript), c) เอกสารรับรองการจบการศึกษา หรือการเป็นนักเรียน/นักศึกษา *กรณีที่ยังคงศึกษาอยู่
*ทั้งนี้สำหรับการสมัครเข้ารับการศึกษาในบางสถาบันและบางหลักสูตร จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน และอาจมีเอกสารอื่นที่ต้องใช้เพิ่มเติม ขอให้สอบถามกับเจ้าหน้าที่ของเรา และเอกสารทั้งหมดควรจะเป็นภาษาอังกฤษ
2) การเตรียมตัวด้านภาษาอังกฤษ
ผู้สมัครที่สมัครเพื่อศึกษาในหลักสูตรเพื่อวุฒิการศึกษาจะต้องสอบวัดระดับภาษา การเตรียมตัวด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสอบวัดระดับภาษา เช่น IELTS รวมถึงการใช้งานเชิงวิชาการ (Academic English) เป็นสิ่งที่ควรเตรียมตัวเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหากยิ่งเตรียมตัวได้มากเท่าไหร่ ก็จะเป็นผลดีต่อทุกๆก้าวของผู้สมัครเองทั้งในส่วนของการดำเนินการก่อนเดินทาง และประสบการณ์การศึกษาในต่างประเทศ
3) การเตรียมตัวด้านระยะเวลา
โดยทั่วไปแล้ว สถาบันการศึกษาเปิดให้สมัครเข้าเรียนล่วงหน้าได้ 1 ปี ก่อนวันที่จะเริ่มเรียน และแต่ละสถาบันและหลักสูตรจะมี deadline คือวันที่กำหนดให้ดำเนินการสมัคร หรือส่งเอกสารต่างๆที่แตกต่างกันออกไป ขอให้ตรวจสอบและเช็คกับเจ้าหน้าที่ของก้อปันกัน ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้ว เราแนะนำให้ดำเนินเรื่องสมัครเข้าเรียนล่วงหน้า 4-8 เดือนก่อนวันเริ่มเรียนของเทอมที่จะสมัครเข้าเรียน เผื่อลดความเสี่ยงที่จะโดนปฏิเสธเนื่องจากผู้สมัครเต็มแล้ว รวมถึงความเสี่ยงที่จะไม่สามารถดำเนินการเรื่องวีซ่าได้ทัน
*แคนาดาเป็นประเทศที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับการสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยม วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย บ่อยครั้งที่หลักสูตรที่ผู้สมัครต้องการสมัครเข้าเรียนอาจะเต็มก่อนวันสิ้นสุดการรับสมัคร
สำหรับการศึกษาต่อแคนาดา ก้อปันกันมีบริการครบวงจร โดยไม่คิดค่าบริการ รวมถึง
- การให้คำปรึกษาในการเลือกหลักสูตรและสถานศึกษาที่เหมาะสมกับผู้สมัคร
- การดำเนินการสมัครเข้าเรียน พร้อมติดตามผล
- การดำเนินการสมัครขอวีซ่า พร้อมแนะนำในการเตรียมเอกสาร
- การดำเนินการจัดหาที่พัก สำหรับที่พักที่เป็นตัวเลือกของสถานศึกษาที่สมัครเข้าเรียน อาทิ หอพัก หรือที่พักกับ host family
- การให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการเตรียมตัวก่อนเดินทาง
- การติดตาม ดูแล ให้คำปรึกษาในขณะที่กำลังศึกษา
สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการบริการศึกษาต่อแคนาดาได้ที่นี่
สำหรับผู้สมัครที่สมัครเข้าศึกษาต่อในสถาบันก้อปันกันเป็นตัวแทนในประเทศแคนาดา โดยใช้บริการของก้อปันกัน หากผู้สมัครเตรียมเอกสารและมีเงื่อนไขตรงตามที่สถาบันกำหนดไว้ โดยทั่วไปแล้วผู้สมัครจะไม่ได้รับการปฏิเสธโดยสถาบัน แต่ถ้าหากการสมัครเข้าศึกษาในสถาบันใดที่มีโอกาสจะถูกปฏิเสธ ทีมงานของเราจะแจ้งให้ผู้สมัครทราบล่วงหน้า
*แคนาดาเป็นประเทศที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับการสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยม วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย บ่อยครั้งที่หลักสูตรที่ผู้สมัครต้องการสมัครเข้าเรียนอาจะเต็มก่อนวันสิ้นสุดการรับสมัคร
สำหรับผู้สมัครที่สมัครเข้าศึกษาต่อในสถาบันก้อปันกันเป็นตัวแทนในประเทศแคนาดา โดยใช้บริการของก้อปันกัน หากผู้สมัครเตรียมเอกสารและมีเงื่อนไขตรงตามที่สถาบันกำหนดไว้ โดยทั่วไปแล้วผู้สมัครจะไม่ได้รับการปฏิเสธโดยสถาบัน แต่ถ้าหากการสมัครเข้าศึกษาในสถาบันใดที่มีโอกาสจะถูกปฏิเสธ ทีมงานของเราจะแจ้งให้ผู้สมัครทราบล่วงหน้า
สำหรับการใช้บริการศึกษาต่อแคนาดากับก้อปันกัน ผู้สมัครจะไม่ต้องเสียค่าบริการใดๆ และค่าใช้จ่ายจะเป็นไปตามอัตราที่ผู้สมัครต้องชำระตามจริง โดยการชำระค่าใช้จ่ายจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่
1) การสมัครเข้าเรียนและสมัครขอวีซ่า: สำหรับค่าสมัครจะคำนวณตามที่สถานศึกษากำหนด และสำหรับค่าวีซ่าจะคำนวณตามที่สถานฑูตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด ผู้สมัครชำระตามใบแจ้งหนี้ (invoice) ที่เราออกให้ถึงบจก.ก้อปันกัน โดยทีมงานของเราจะออกหลักฐานการรับเงินให้ ซึ่งเราจะรับมาเพื่อทำการชำระต่อให้กับผู้สมัคร
*ทั้งนี้ก้อปันกันจะจัดเก็บค่ามัดจำในการดำเนินการ 5,000 บาท ซึ่งจะคืนให้เต็มจำนวน สำหรับผู้สมัครที่ผ่านการสัมภาษณ์ขอวีซ่า และเดินทางไปเรียนในสถาบันและหลักสูตรที่ามัครเรียนไว้แล้ว
2) ค่ามัดจำในการจองที่เรียน: หลังจากที่ทำเรื่องสมัครและสถานศึกษาได้ตอบรับแล้ว ผู้สมัครจะต้องชำระค่ามัดจำในการจองที่เรียน (tuition deposit) ซึ่งแต่ละสถาบันจะมียอดค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน และบางสถาบันอาจไม่จัดเก็บค่ามัดจำในส่วนนี้ (โดยส่วนใหญ่แล้วจะเก็บ) เมื่อชำระแล้วสถาบันจะออกเอกสารตอบรับสำหรับการนำไปใช้ในการยื่นสมัครขอวีซ่าได้ สำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สามารถโอนชำระถึงสถานศึกษษได้โดยตรง
3) การสมัครในการจัดหาที่พัก: สำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อาจรวมถึงค่าธรรมเนียมการจัดหาที่พัก ค่ามัดจำหอพัก ค่าบริการรับ-ส่งจากสนามบิน โดยจะคำนวณตามที่สถานศึกษานั้นๆกำหนด แต่ละสถานจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ผู้สมัครชำระตามใบแจ้งหนี้ (invoice) ที่เราออกให้ถึงบจก.ก้อปันกัน โดยทีมงานของเราจะออกหลักฐานการรับเงินให้ ซึ่งเราจะรับมาเพื่อทำการชำระต่อให้กับผู้สมัคร
*ทั้งนี้ก้อปันกันไม่บังคับให้ผู้สมัครใช้บริการจัดหาที่พักของสถาบัน
4) ค่าเล่าเรียน ค่าที่พักและค่าธรรมเนียมอื่นๆ: ผู้สมัครสามารถชำระค่าเล่าเรียน ค่าที่พักและค่าธรรมเนียมอื่นๆที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษาที่เข้ารับการศึกษาได้โดยตรง โดยไม่ต้องชำระผ่านบริษัทของเรา และจะชำระเป็นอัตราเดียวกับการสมัครเข้าศึกษาด้วยตนเอง (ไม่ได้ผ่านบริษัท)
สำหรับผู้สมัครที่สมัครเข้าศึกษาต่อในสถาบันก้อปันกันเป็นตัวแทนในประเทศแคนาดา โดยใช้บริการของก้อปันกัน หากผู้สมัครเตรียมเอกสารและมีเงื่อนไขตรงตามที่สถาบันกำหนดไว้ โดยทั่วไปแล้วผู้สมัครจะไม่ได้รับการปฏิเสธโดยสถาบัน แต่ถ้าหากการสมัครเข้าศึกษาในสถาบันใดที่มีโอกาสจะถูกปฏิเสธ ทีมงานของเราจะแจ้งให้ผู้สมัครทราบล่วงหน้า
Student Life
ผู้เรียนระดับอุดมศึกษาสามารถทำงานในแคมปัสได้ โดยไม่ต้องมี work permit หากอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
- เป็นนักเรียนเต็มเวลาในสถาบันระดับอุดมศึกษา (หลังจากจบมัธยมปลายแล้ว)
- มี study permit ที่ยังคงใช้งานได้
- มี Social Insurance Number (SIN)
มีใครสามารถจ้างงานคุณได้บ้าง?
- สถาบันการศึกษา
- อาจารย์
- องค์กรนักศึกษา
- ตัวเอง
- ธุรกิจเอกชน
- คู่สัญญาของสถานศึกษาที่ให้บริการในแคมปัส
รายละเอียด work on campus : click ที่นี่
หากอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ นักเรียนนานาชาติสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องมี work permit
- มี study permit ที่ยังคงใช้งานได้
- เป็นนักเรียนเต็มเวลาของสถาบันที่ได้รับการรับรองโดย (DLI : designated learning institution และได้ลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาเชิงวิชาการ รวมถึงหลักสูตรวิชาชีพ หรือ หลักสูตรวิชาชีในระดับเทียบเท่ามัธยมปลายเฉพาะใน Quebec)
- ได้เริ่มเรียนแล้ว
- มี study permit ที่ระบุไว้ว่าสามารถทำงาน on หรือ off campus ได้
- กำลังเรียนในหลักสูตรที่จะนำไปสู่วุฒิการศึกษาหรือประกาศนียบัตรที่ใช้เวลาเรียนขั้นต่ำ 6 เดือนขึ้นไป
- มี Social Insurance Number (SIN)
ทั้งนี้หากไม่ได้เป็นนักเรียนเต็มเวลา ก็สามารถที่จะทำงาน off campus ได้ ในกรณีที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
- เป็นนักเรียนเต็มเวลามาตั้งแต่เริ่ม
- กำลังเรียน part-time อยู่ เนื่องจากเป็นเทอมสุดท้ายและไม่จำเป็นต้องเรียนเต็มเวลาเพื่อที่จะจบหลักสูตรที่กำลังศึกษา
*รายละเอียด work off campus – click ที่นี่
เนื่องจากบางหลักสูตรการศึกษามีประสบการณ์การณ์การทำงานเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร นักเรียนสามารถสมัครขอใบอนุญาต co-op หรือ intern ได้ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
- มี study permit ที่ยังสามารถใช้งานได้
- การทำงานถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนต่อแคนาดาของคุณ
- มีจดหมายจากโรงเรียนยืนยันว่าหลักสูตรคุณจำเป็นต้องมีการทำงานเพื่อจบการศึกษา
- ระยะเวลา co-op หรือฝึกงานไม่มากกว่า 50% ของระยะเวลาในการเรียนตลอดหลักสูตร
คุณจะไม่สามารถขอใบอนุญาตประเภทนี้ได้ถ้า
- เรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส
- วิชาที่เรียนเป็นวิชาสำหรับการเตรียมเข้าเรียนหลักสูตรอื่นๆ
*รายละเอียด co-op หรือ intern – คลิกที่นี่
หลักจากที่สำเร็จการศึกษาระดับที่สูงกว่ามัธยม (post-secondary) แล้ว ผู้เรียนสามารถที่จะทำงานชั่วคราว และขอพักอาศัยในแคนาดาได้อย่างถาวร
การทำงานหลังเรียนจบจะต้องใช้ work permit ซึ่งเรียกว่า Post-graduation work permit (PGWP) ซึ่งหากไม่สามารถสมัครขอ PGWP ได้ และหากได้รับ PGWP และทำงานในแคนาดาอย่างต่อเนื่อง 1 ปีขึ้นไป จะมีคุณสมบัติที่สามารถสมัครขอสถานะผู้พักอาศัยถาวร (Permanent Resident: PR)ในแคนาดาได้
หมายเหตุ:
- การสำเร็จหลักสูตรการศึกษาเพื่อขอรับ PGWP จะต้องเป็นหลักสูตรที่สูงกว่าระดับชั้นมัธยมเท่านั้น และจะต้องเป็นหลักสูตรการศึกษาของสถาบันรัฐบาลที่ได้รับการรับรองสำหรับ PGWP ซึ่งด้วยทั่วไปแล้ว จะใช้ต้องใช้ระยะเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 1 ปีการศึกษา (ไม่รวมการเรียนปรับภาษา)
สำหรับการสมัครเป็นผู้พักอาศัยถาวร (Permanent Resident: PR) ในแคนาดา จะพิจารณาจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้
A) Canadian Language Benchmark (CLB) การระบุถึงความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษ หรือ the Niveaux de competence (NCLC) การระบุถึงความสามารถด้านการใช้ภาษาฝรั่งเศส
B) ลิสต์ตำแหน่งงานต่างๆในตลาดแรงงานของแคนาดา โดยแบ่งตามทักษะ 5 ระดับ ได้แก่ 0, A, B, C, D
*รายละเอียดเพิ่มเติม – click ที่นี่